บรรเทาออฟฟิศซินโดรม ด้วยเก้าอี้เพื่อสรีระ

ออฟฟิศซินโดรม (office syndrome) เป็นกลุ่มอาการที่เกิดขึ้นกับคนที่ทำงานในออฟฟิศ เนื่องจากลักษณะงานที่ต้องนั่งหน้าคอมพิวเตอร์หรือทำงานอย่างใดอย่างหนึ่งด้วยท่าทางซ้ำ ๆ ต่อเนื่องเป็นเวลานาน จนอาจส่งผลให้เกิดโรคและอาการผิดปกติในระบบต่างๆ ของร่างกาย ไม่ว่าจะเป็นระบบกระดูกและกล้ามเนื้อ ระบบการย่อยอาหารและการดูดซึม ระบบหัวใจและหลอดเลือด ระบบฮอร์โมน นัยน์ตาและการมองเห็น โดยในส่วนที่เกี่ยวข้องกับงานกายภาพบำบัดจะเป็นอาการที่เกิดขึ้นกับระบบกระดูกและกล้ามเนื้อเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งอาจส่งผลเสียร้ายแรงแก่ร่างกายด้วยอาการเจ็บป่วยเหล่านี้

office syndrome, ออฟฟิศซินโดรม

  • กล้ามเนื้ออักเสบเรื้อรัง (myofascial pain syndrome)
  • เอ็นรัดข้อมืออักเสบกดทับเส้นประสาท (carpal tunnel syndrome)
  • ความผิดปกติของความตึงตัวของเส้นประสาท (nerve tension)
  • กล้ามเนื้อบริเวณแขนท่อนล่างด้านนอกอักเสบ (tennis elbow)
  • ปลอกหุ้มเอ็นกล้ามเนื้อบริเวณฐานนิ้วโป้งอักเสบ (De Quervain’s tendonitis)
  • นิ้วล็อก (trigger finger)
  • เอ็นกล้ามเนื้ออักเสบ (tendinitis)
  • ปวดหลังจากท่าทางผิดปกติ (postural back pain)
  • หลังยึดติดในท่าแอ่น (back dysfunction)

office syndrome, ออฟฟิศซินโดรม

พฤติกรรมสุดเสี่ยง

ในเมื่อคุณจำเป็นต้องนั่งทำงานอยู่กับหน้าหน้าจอคอมพิวเตอร์เป็นระยะเวลานานอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ สิ่งแรกที่คุณควรสำรวจเพื่อป้องกันอาการออฟฟิศซินโดรมที่อาจเกิดขึ้น ลองสำรวจดูว่าคุณมีพฤติกรรมเสี่ยงเหล่านี้บ้างไหม

  • การนั่งหน้าคอมพิวเตอร์หรือทำงานอย่างใดอย่างหนึ่งด้วยท่าทางซ้ำๆ ต่อเนื่องเป็นเวลานานมากกว่า 6 ชั่วโมงต่อวัน
  • ท่าทางในการทำงานที่ไม่เหมาะสม เช่น การนั่งหลังค่อม ท่าก้มหรือเงยคอมากเกินไป
  • สภาพแวดล้อม หรืออุปกรณ์ในการทำงานไม่เหมาะสม
  • สภาพร่างกายที่อาจส่งผลต่ออาการเจ็บป่วย เช่น ภาวะเครียดจากงาน การอดอาหาร การพักผ่อนไม่เพียงพอ ซึ่งส่งผลให้ร่างกายต้องแบกรับความตึงเครียด ปราศจากการผ่อนคลาย

office syndrome, ออฟฟิศซินโดรม

ซี่งพฤติกรรมสุดเสี่ยงนี้สามารถปรับเปลี่ยนได้ด้วยการปรับเปลี่ยนอิริยาบถร่างกายให้ถูกต้อง, ปรับพื้นที่การทำงาน, สภาพแวดล้อมในการทำงาน และลักษณะงานให้เหมาะสมกับแต่ละบุคคล รวมถึงการออกกำลังกายเพื่อเพิ่มสมรรถภาพร่างกายโดยรวม

ท่านั่งคือกุญแจสำคัญ

ในการนั่ง เราควรคำนึงถึง คอ, หลัง และไหล่ ในการจัดท่าให้ถูกต้องเพื่อการนั่งที่สบาย การนั่งหลังตรงจนเกินไป, นั่งแบบหลังตรงจริง ๆ นั้นก็ไม่ถูกต้อง และการนั่งเกร็งเพื่อให้หลังตรงก็ไม่ถูกต้อง เพราะจะกลายเป็นการแอ่นหลัง การนั่งจะควรนั่งแบบสบายๆ ตามธรรมชาติ ไม่นั่งเกร็ง หรือพยายามนั่งเพื่อให้หลังตรง บางครั้งเราเผลอก้มโค้ง โน้มตัวเข้ามาทำให้หลังงอเพราะระดับการวางหน้าจอนั่นเอง ถ้าคุณนั่งไม่ถูกต้อง บริเวณที่ปวดก็จะเป็นหัวไหล่, บ่า, และคอ และอาจมีอาการปวดหลังด้วย

office syndrome, ออฟฟิศซินโดรม

office syndrome, ออฟฟิศซินโดรม

จากการวิจัยของสมาคมระหว่างประเทศของแพทย์รังสีวิทยา RSNA ประเทศ America ได้แสดงให้เห็นว่าการนั่งเอน 135 องศา เป็นท่านั่งที่สบายและผ่อนคลายที่สุด การกดทับที่เกิดจาการนั่งน้อยที่สุด ความเจ็บปวดที่เกิดจากออฟฟิศซิมโดรมส่วนใหญ่เริ่มจากการนั่งที่ไม่ถูกวิธีและเก้าอี้ไม่รองรับสรีระสะสมมานานเป็นระยะเวลาหลายปี ลองปรับเปลี่ยนการนั่งของคุณดูแล้วสุขภาพจะดีขึ้นตามลำดับ

office-chair-7-2

เก้าอี้ตามหลักสรีระศาสตร์

หลายบริษัทมีการออกแบบผลิตภัณฑ์ที่เรียกว่า Ergonomic Seating and Chairs หรือเก้าอี้เพื่อสรีระศาสตร์ คือเก้าอี้ที่ได้รับการออกแบบเพื่อรับกับแผ่นหลังและคอให้ถูกสุขลักษณะ สามารถปรับได้ทุกสัดส่วนเพื่อความต้องการและรองรับสรีระของบุคคลนั้น ๆ ได้อย่างลงตัว เป็นเก้าอี้ที่นั่งสบาย นั่งในท่าเอน 135 องศาได้ ไม่ทำให้ปวดหลังในเวลานั่งนาน ๆ สามารถระบายอากาศได้อย่างดีเยี่ยม ไม่ทำให้เกิดเหงื่อหรือการระคายเคืองในเวลานั่ง เช่น การนั่งทำงานหน้าคอมพิวเตอร์นาน ๆ, นั่งออกแบบ, นั่งคิดวิเคราะห์, นั่งเผื่อผ่อนคลายอริยาบทต่าง ๆ จำพวกบุคคลที่ประกอบอาชีพ โปรแกรมเมอร์, ออกแบบกราฟิกดีไซน์, ครีเอทีฟ, นักออกแบบ, คอมพิวเตอร์เพื่อธุรกิจในสำนักงานต่าง ๆ หรือเก้าอี้ของผู้บริหาร ที่จำเป็นต้องใช้ระยะเวลาในการนั่งทำงานนาน ๆ เหล่านี้

ergonomic chair, เก้าอี้เพื่อสรีระ

หากคุณเป็นคนหนึ่งที่ต้องการบรรเทาอาการออฟฟิศซินโครมด้วยเก้าอี้ที่ออกแบบตามหลักสรีระศาสตร์ ถือเป็นการลงทุนที่คุ้มค่า เพราะคุณใช้เวลาส่วนใหญ่นั่งอยู่บนเก้าอี้ ซึ่งเก้าอี้นี้เป็นอุปกรณ์การใช้งานที่ใกล้ตัวที่สุด และรองรับกับสรีระของเรา ทำให้คุณมีท่านั่งที่ถูกต้อง สามารถทำงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ ในคราวหน้า เราจะนำสาระดี ๆ ที่ช่วยให้คุณภาพชีวิตดีขึ้นมาฝากกันนะครับ

poweline-07

 

ที่มา : ร.พ. บำรุงราษฎร์, DFProchair

0.00 avg. rating (0% score) - 0 votes

Comments

comments

We will be happy to hear your thoughts

Leave a reply

ช้อปปิ้งออนไลน์ WeMall ห้างสรรพสินค้าออนไลน์ที่แรกในประเทศไทย