ใครมีกล้องติดรถยนต์ ลดเบี้ยประกันภัย 5 -10% รู้ยัง?

ปัจจุบันปัญหาการเกิดอุบัติเหตุบนท้องถนนในบ้านเรา นับวันยิ่งทวีคูณมากขึ้นเรื่อยๆ โดยเฉพาะช่วงวันหยุดเทศกาลจะมีอัตราการเสียชีวิตจากการขับขี่ยานพาหนะสูงขึ้น และบ่อยครั้งที่ไม่สามารถจับผู้เมาแล้วขับ เป็นเหตุทำให้ผู้อื่นพิการและเสียชีวิต หรือคู่กรณีที่ขับขี่โดยประมาทมาลงโทษตามกฎหมายได้ แต่โชคดีที่ตอนนี้มีการนำเทคโนโลยีกล้องติดรถยนต์ เข้ามาใช้บันทึกภาพเหตุการณ์ภายในรถยนต์เพื่อเป็นหลักฐานในการตัดสินคดีความ เป็นประโยชน์ต่อเจ้าหน้าตำรวจ และบริษัทประกันภัย

กล้องติดรถยนต์

กล้องติดรถยนต์ มีส่วนช่วยในการเป็นหูเป็นตา เป็นหลักฐานสำคัญในการเอาผิดผู้กระทำความผิดจราจร

เมื่อเดือนมีนาคม พ.ศ.2560 ที่ผ่านมา ทางสำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) ได้ประกาศเพิ่มมาตรการ กระตุ้นการลดอุบัติเหตุบนท้องถนน โดยออกคำสั่งให้นายทะเบียนลดเบี้ยประกันภัยภาคสมัครใจร้อยละ 5 -10 ให้กับรถยนต์ที่ติดตั้งวงจรปิด กล้องติดรถยนต์ CCTV โดยมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 3 มีนาคม 2560 เป็นต้นไป

คำสั่งนายทะเบียนที่ 8/2560 (มาตรการลดอุบัติเหตุบนท้องถนน ออกคำสั่งให้ลดเบี้ยประกันภัย 5-10%)

 

ดร.สุทธิพล ทวีชัยการ เลขาธิการคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) กล่าวว่า

เนื่องจากสถานการณ์ปัจจุบัน ประเทศไทยมีสถิติผู้เสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางถนนสูงเป็นอันดับสองของโลก และกรุงเทพมหานครยังได้ชื่อว่าเป็นเมืองที่มีการจราจรติดขัดเป็นอันดับต้นๆ ของโลก สาเหตุสำคัญก็คือการขาดวินัยจราจร และไม่เคารพกฎหมายของผู้ขับขี่ ซึ่งการสร้างวินัยจราจร และป้องกันการฝ่าฝืนกฎหมายนั้น นอกจากเป็นหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ตำรวจแล้ว การให้ประชาชนได้มีส่วนร่วมเป็นเรื่องสำคัญยิ่ง ทำให้หลายภาคส่วนมีความห่วงใย และมีข้อเสนอแนะว่าระบบกล้องโทรทัศน์วงจรปิด ที่ติดตั้งกับรถมีส่วนสำคัญในการตรวจสอบวินัยจราจรของผู้ใช้รถใช้ถนน ตลอดจนเป็นหลักฐานสำคัญในการยืนยันถึงการกระทำความผิด ซึ่งนอกจากจะช่วยให้ผู้ขับขี่ขับรถด้วยความระมัดระวัง ไม่กล้าฝ่าฝืนกฎจราจรแล้ว ยังช่วยป้องกันการเกิดเหตุอาชญากรรมได้อีกทางหนึ่งด้วย

ทางสำนักงาน คปภ. จึงได้ปรึกษาหารือกับทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องรวมทั้งภาคธุรกิจประกันภัย ซึ่งมีขอสรุปว่าเหห็นสมควรให้ใช้มาตรการด้านประกันภัย จูงใจให้มีการติดตั้งกล้อง CCTVภายในรถยนต์มากขึ้น เพื่อให้ผู้ใช้รถใช้ถนนมีความระมัดระวังในการขับขี่ เนื่องจากมีกล้องติดรถยนต์ของคันอื่นบนท้องถนน คอยบันทึกภาพเหตุการณ์ต่างๆ ไว้อยู่ตลอดเวลา ทำให้การขับขี่รถทุกครั้ง ผู้ขับขี่จะมีความระมัดระวังมากยิ่งขึ้น คาดว่าจะสามารถลดการเกิดอุบัติเหตุให้ลดน้อยลงได้ นอกจากนี้ หลักฐานการเกิดอุบัติเหตุที่ถูกบันทึกได้โดยกล้องติดรถยนต์ ยังสามารถช่วยให้บริษัทประกันภัยจ่ายค่าสินไหมทดแทนได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

กล้องติดรถยนต์

กล้องติดรถยนต์หน้ารถ สำหรับบันทึกภาพเหตุการณ์อุบัติเหตุ และการโจรกรรม

เลขาธิการ คปภ. กล่าวเพิ่มเติมว่า คำสั่งนี้มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 3 มีนาคม 2560 ดังนั้นผู้เอาประกันภัยรายใหม่หรือรายเก่าที่ทำหรือต่ออายุสัญญาประกันภัยตั้งแต่วันที่ 3 มีนาคม 2560 เป็นต้นไป จะได้รับส่วนลดเบี้ยประกันภัย โดยส่วนลดดังกล่าว ผู้เอาประกันภัยสามารถดูได้ในช่องส่วนลดอื่นๆ ที่หน้าตารางกรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์ ในกรณีที่ผู้เอาประกันภัยติดกล้องและทำสัญญาประกันภัยเมื่อคำสั่งนี้มีผลบังคับใช้แล้ว แต่ไม่ได้รับส่วนลดเบี้ยประกันภัย ผู้เอาประกันภัยสามารถทำเรื่องขอส่วนลดเบี้ยประกันภัยกับบริษัทได้ในภายหลัง ทั้งนี้ผู้เอาประกันภัยต้องติดตั้งกล้องวงจรปิดไว้กับรถยนต์ตลอดระยะเวลาเอาประกันภัย ซึ่งหากมีข้อสงสัยหรือต้องการสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม ให้ติดต่อได้ที่ สายด่วน คปภ. 1186

รู้กันแล้วนะครับว่า หากรถยนต์คันไหนที่ติดตั้งกล้องวงจรปิดในรถยนต์ จะได้รับการลดเบี้ยประกันภัย 5 – 10% เพื่อเป็นการลดการเกิดอุบัติเหตุบนท้องถนนให้น้อยลง ให้ทุกคนมีส่วนช่วยเป็นหูเป็นตา เพื่อความปลอดภัยต่อตนเองและผู้อื่น ใครที่ติดกล้องอยู่แล้วหรือกำลังคิดที่จะติดตั้ง ก็อย่าลืมไปยื่นเรื่องเพื่อขอลดเบี้ยประกันนะครับ เป็นการเพิ่มความปลอดภัยแถมยังได้ลดรายจ่ายด้วย ซึ่งคุณสมบัติของกล้องติดรถยนต์ ไม่มีกฎข้อบังคับอะไรมากสรุปได้ดังนี้

  • เป็นกล้องติดรถยนต์ทุกประเภท สามารถบันทึกภาพเคลื่อนไหวได้
  • ต้องไม่ใช่การดัดแปลงอุปกรณ์อื่นๆ เช่น โทรศัพท์มือถือ แท็บเล็ต ให้เหมือนกับกล้องติดรถยนต์
  • ไม่กำหนดคุณภาพของไฟล์วีดีโอ
  • ไม่กำหนดราคาขั้นต่ำ

 

ข้อมูลจาก : สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.)

หากคุณสนใจเลือกซื้อกล้องติดรถยนต์ และกล้องประเทอื่นๆ สามารถเข้าไปดูได้ที่ <<สินค้าหมวดกล้อง>>

0.00 avg. rating (0% score) - 0 votes

Comments

comments

ช้อปปิ้งออนไลน์ WeMall ห้างสรรพสินค้าออนไลน์ที่แรกในประเทศไทย