สำหรับใครที่กำลังมองหาตู้เย็นใหม่ โดยเฉพาะตู้เย็น 2 ประตู ที่เป็นตู้เย็นมาตรฐาน เหมาะสมกับครอบครัวส่วนใหญ่ เนื่องจากแยกส่วนแช่เย็นและแช่แข็งชัดเจน ซึ่งต่างจากตู้เย็นประตูบานเดี่ยวที่ส่วนแช่แข็งเป็นส่วนประกอบหนึ่งในตู้ ซึ่งมีพื้นที่น้อยกว่าและมักมีน้ำแข็งเกาะ
ไม่ว่าท่านจะพิจารณาเลือกซื้อตู้เย็น 2 ประตู จากเหตุผลใดก็ตาม ทั้งการซื้อเพื่อทดแทนตู้เย็นเก่าที่ใช้มานาน หรือการซื้อเพื่อใช้ในที่อยู่อาศัยใหม่ ข้อควรคำนึงถึงการเลือกซื้อก่อนจะตัดสินใจเป็นสิ่งสำคัญ เนื่องจากเป็นสินค้าที่เสียบปลั๊กใช้งานตลอดเวลา และไม่ใช่ของที่จะเปลี่ยนบ่อยนักด้วยขนาดและน้ำหนัก
ปัจจัยในการพิจารณาเลือกซื้อตู้เย็น 2 ประตูสักเครื่องจึงมีดังนี้
พื้นที่สำหรับวางและติดตั้งสำคัญเป็นที่หนึ่ง
ไม่ว่าท่านจะต้องการตู้เย็น 2 ประตูขนาดใหญ่โตเพียงใด แต่ถ้าพื้นที่ตั้งตู้เย็นในบ้านไม่เพียงพอ ก็ถือว่าไม่เหมาะสมที่จะซื้อ บางท่านอาจเคยเห็นบางบ้านที่วางตู้เย็นอยู่ห่างจากครัวไกลลิบ เพราะไม่มีที่วางไว้ใกล้ครัวนั่นเอง ซึ่งจะเป็นปัญหาที่ต้องทนอยู่ไปอีกนานถ้าไม่วางแผนไว้ให้ดีพอ อาจมองว่าเป็นเรื่องเล็ก แต่แท้จริงแล้วมันก็กระทบสุขภาพจิตได้ ดังนั้น ควรเผื่อพื้นที่ให้มากที่สุด รวมถึงเผื่อพื้นที่ระบายความร้อนของตู้เย็นด้วย โดย ผู้ผลิตจึงมักแนะนำให้เผื่อพื้นที่รอบข้างตัวตู้อย่างน้อยที่สุดประมาณ 5 เซนติเมตร
คำนวณขนาดตู้เย็น
ตู้เย็นที่จำหน่ายส่วนใหญ่มักขายตามขนาดความจุมวลรวมเป็นหน่วยลิตร แต่ในไทยนั้นจะระบุโดยใช้หน่วยเรียกความจุเป็น ‘คิว’ (Q) ซึ่งมาจาก Cubic foot หรือลูกบาศก์ฟุต โดยวัดขนาดด้านในตู้แต่ละด้านเป็นหน่วยฟุต ซึ่งมีการคำนวนดังนี้
ความกว้าง x ความสูง x ความลึก (หน่วยเป็นฟุต) = ขนาดคิวบิกฟุต
ท่านสามารถแปลงหน่วยจากคิวบิกฟุตเป็นลิตรได้ โดยใช้เครื่องมือคำนวณ หรืออัตราส่วน 1 ลิตร = 0.0353147 คิว โดยจะได้ค่าความจุประมาณ 114-116 ลิตร
สำหรับค่าโดยประมาณที่ขอแนะนำนั้น แบ่งตามจำนวนสมาชิกในบ้านได้ดังนี้
- สมาชิกในบ้าน 1-2 คน ใช้ความจุประมาณ 200-300 ลิตร ควรเลือกตู้เย็นขนาด 7-13 คิว
- สมาชิกในบ้าน 3-4 คน ใช้ความจุประมาณ 350-530 ลิตร ควรเลือกตู้เย็นขนาด 12-18 คิว
- สมาชิกในบ้านตั้งแต่ 5 คน ใช้ความจุประมาณ 440 ลิตรขึ้นไป ควรเลือกตู้เย็นขนาด 15 คิวเป็นต้นไป
จากตัวเลขดังกล่าวนั้น เป็นเพียงค่าประมาณ เพราะต้องมีปัจจัยแปรผันอื่นๆ ประกอบ ทั้งพฤติกรรมการใช้งาน, เน้นแช่อาหารแบบใด, วัตถุดิบที่นำมาใช้ปรุงอาหาร, ความถี่ในการทำอาหาร หรือซื้ออาหารสำเร็จรูปมาแช่ หากตู้เย็นเดิมมีขนาดใกล้เคียงกับข้อมูลข้างต้นก็พิจารณาในขนาดที่ใหญ่ขึ้นได้ รวมถึงให้ดูข้อจำกัดด้านงบประมาณและพื้นที่จัดวางด้วย
สำรวจฟังก์ชั่นของตู้เย็นและชั้นวางในตู้
แม้ตู้เย็น 2 ประตูต่างแบรนด์ที่มีขนาดความจุเท่ากัน แต่การใช้งานจริงนั้นก็แตกต่างกันได้ ด้วยองค์ประกอบของชั้นวางและพื้นที่ใช้งานที่ทางแบรนด์จัดสรรมา บ้างก็จุผักได้มาก หรือบ้างเน้นใส่อาหารเย็นจัด บ้างเน้นให้กดน้ำดื่มหรือทำน้ำแข็งอัตโนมัติ ซึ่งฟังก์ชั่นเล็กๆ น้อยๆ อาจเบียดเบียนพื้นที่ตู้ไปบ้าง จึงควรพิจารณาจากพื้นที่ใช้สอยภายในและการใช้งานปกติด้วย ยิ่งถ้าอยู่หลายคนก็ควรช่วยกันตัดสอนใจ เพื่อให้ตอบโจทย์ของทุกๆ คนในบ้านได้อย่างเหมาะสม
หนึ่งในสิ่งที่อยากจะแนะนำ คือ คอมเพรสเซอร์ระบบอินเวอร์เตอร์ เพราะช่วยลดการใช้ไฟได้มากกว่าอย่างเห็นได้ชัด นอกจากนี้ก็ขึ้นอยู่กับการใช้งานอื่นๆ ตามต้องการดังที่กล่าวไปข้างต้น
รูปแบบการใช้งาน
สำหรับผู้ที่มีตู้เย็นเก่าที่คิดว่าตอนนี้จุของไม่พอแล้ว ประกอบกับมีพื้นที่สำหรับตู้เย็นที่ใหญ่ขึ้นได้ ยิ่งกับผู้ที่ใช้ตู้เย็นบานเดี่ยวมาก่อน เป็นการดีที่จะได้ลองเปิดใจดูตู้เย็นในขนาดที่ใหญ่ขึ้น สามารถประเมินสภาพการใช้งานจริงจากตู้เย็นเก่าว่าใช้เต็มพื้นที่หรือไม่ ถ้าใช่ก็ถึงเวลาซื้อใหม่ในขนาดที่ใหญ่กว่าเดิมสัก 20%
ส่วนท่านที่ใช้ตู้เย็นโดยไม่ได้แช่ของไว้หนาแน่นนัก แต่อาจจะถึงเวลาเปลี่ยนเพราะใช้งานมานานแล้ว หากตู้เย็นที่ใช้มีอายุถึง 20 ปี หรือมากกว่านั้น ก็มีอัตรากินไฟสูง เป็นไปได้ว่าอาจสูงมากกว่าตู้เย็นใหม่หลายเท่า ซึ่งตู้เย็น 2 ประตูรุ่นใหม่ๆ ที่จำหน่ายในไทยอย่างเป็นทางการ มักผ่านมาตรฐานประหยัดไฟเบอร์ 5 อยู่แล้ว ถ้าหาสาเหตุไม่ได้ว่าทำไมค่าไฟถึงแพงขึ้น การใช้เครื่องไฟฟ้าเก่าก็อาจเป็นหนึ่งในตัวแปรสำคัญ
ประเด็นเหล่านี้อาจเป็นส่วนสำคัญที่เคยมองข้ามไป ท้ายที่สุดที่พึงระลึกไว้คือเลือกสินค้าจากแบรนด์ที่น่าเชื่อถือ เพื่อลดความเสี่ยงในระยะยาว หากก่อนการเลือกซื้อได้มีการพิจารณาจากองค์ประกอบต่างๆ อย่างถี่ถ้วนแล้ว ตู้เย็น 2 ประตูเครื่องใหม่ที่จะได้มาก็จะสามารถตอบสนองการใช้งานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพที่สุด
Cr. sanook, yotyiam.com
>> เลือกซื้อตู้เย็น 2 ประตูแบรนด์ต่างๆ <<