เข้าใจ Heart Rate Zone ในแบบง่ายๆ เพื่อการออกกำลังกายอย่างสัมฤทธิ์ผล

เชื่อว่าหลายคนคงเคยวิ่ง, ปั่นจักรยาน หรือออกกำลังกายด้วยวิธีอื่นๆ แล้วผลลัพธ์ที่ออกมากลับไม่เป็นดังหวัง เช่นน้ำหนักไม่ลด หรือร่างกายไม่ได้แข็งขึ้น แต่ปัญหาเหล่านี้จะหมดไปถ้าคุณทำความเข้าใจกับ Heart Rate Zone ที่มีอยู่ในฟังก์ชันของนาฬิกาออกกำลังกายที่จะช่วยให้การออกกำลังกายสามารถไปถึงเป้าหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพ

Heart Rate Zone คืออะไร

Heart Rate Zone คือการนำค่าอัตราการเต้นของหัวใจขณะพัก และอัตราการเต้นของหัวใจสูงสุดมาเข้าสูตรคำนวนเพื่อหาอัตราการเต้นที่เหมาะสมกับความหนักในการออกกำลังกายในแต่ละรูปแบบ ซึ่งตัวอัตราการเต้นของหัวใจขณะพักก็หาได้ไม่ยาก เพียงแค่เมื่อตื่นนอนก็ให้จับชีพจรเป็นเวลา 1 นาที และทำแบบนี้ 3 ครั้งเพื่อหาค่าเฉลี่ย จากนั้นก็จะได้อัตราการเต้นของหัวใจขณะพัก เช่นจับชีพจรแล้วได้ค่า 70, 75 และ 73 ก็ให้นำ (70+75+73)/3 ก็จะได้ 72.6 ครั้ง/นาที เป็นค่าอัตราการเต้นของหัวใจขณะพัก
จากนั้นก็ให้หาอัตราการเต้นของหัวใจสูงสุดด้วยการนำค่า 220 ลบด้วยอายุขณะนั้น เช่นอายุ 30 ก็ให้นำ 220-30 ก็จะได้ค่า 190 ครั้ง/นาที เป็นอัตราการเต้นของหัวใจสูงสุด เมื่อได้ทั้งสองค่ามาแล้วก็ให้เข้าสูตร [(อัตราการเต้นของหัวใจสูงสุด – อัตราการเต้นของหัวใจขณะพัก) x ความหนักการเต้นของหัวใจเป็นเปอร์เซ็นต์] + อัตราการเต้นของหัวใจขณะพัก หากนำตัวอย่างข้างต้นมาคำนวนทั้งหมด และอยากได้ความหนักของการเต้นของหัวใจ 50% ก็จะได้ [(190-72.6)x50%]+72.6 ซึ่งผลลัพธ์คือ 131.3 ครั้ง/นาที

Sunnto

5 Zone กับการออกกำลังกาย

อย่างไรก็ตาม Heart Rate Zone ไม่ได้มีแค่ค่าเดียวในการออกกำลังกาย เพราะตามความนิยมนั้นจะแบ่งความหนักของอัตราการเต้นของหัวใจออกเป็น 5 Zone คือ

  • Very Light หรือความหนัก 50-60% ของอัตราการเต้นของหัวใจ เหมาะกับผู้เริ่มออกกำลังกาย และช่วยลดน้ำหนักในกรณีที่หัวใจเต้นในความหนักนี้ต่อเนื่องราว 20-40 นาที
  • Light หรือความหนัก 60-70% ของอัตราการเต้นของหัวใจ เหมาะกับผู้ที่ออกกำลังกายอย่างเป็นประจำ และช่วให้ร่างกายแข็งแรงขึ้นหากควบคุมให้หัวใจเต้นในความหนักนี้ได้นาน 40-80 นาที
  • Moderate หรือความหนัก 70-80% ของอัตราการเต้นของหัวใจ เหมาะกับผู้เริ่มออกกำลังกายจริงจัง และอยากสร้างความแข็งแกร่งให้มากกว่าเดิม ถ้าให้ดีต้องใช้ความหนักนี้นาน 10-40 นาที
  • Hard หรือความหนัก 80-90% ของอัตราการเต้นของหัวใจ เหมาะกับนักกีฬาที่ต้องการเพิ่มประสิทธิภาพให้กับร่างกาย และไม่ควรให้หัวใจเต้นหนักขนาดนี้นาน 2-10 นาที
  • Maximum หรือความหนัก 90% ขึ้นไป เหมาะกับนักกีฬามืออาชีพที่ต้องการเพิ่มประสิทธิภาพร่างกายในเวลาสั้นๆ เช่นแข่งวิ่ง 100 เมตร และไม่ควรให้หัวใจเต้นหนักขนาดนี้นานเกิน 5 นาที

 

shutterstock_185076455

ง่ายกว่าไหมถ้ามีคนช่วยคำนวน

แต่ในความเป็นจริงพอทุกคนเริ่มต้นออกกำลังกาย การจะให้มานั่งจับชีพจรบ่อยๆ พร้อมกับนำค่าดังกล่าวมาใส่สูตรข้างต้นก็คงไม่ใช่เรื่อง ดังนั้นการมีเทคโนโลยีใหม่ๆ เข้ามาช่วยเหลือให้ทุกคนสามารถออกกำลังกายได้ตรงจุดประสงค์ โดยอ้างอิงจากข้อมูล Heart Rate Zone ก็น่าจะดี ซึ่งปัจจุบัน Smartwatch รุ่นใหม่สามารถตอบโจทย์เรื่องนี้ได้ หนึ่งในนั้นคือแบรนด์ Suunto ที่มีสินค้าให้เลือกทุกระดับราคา ผ่านสินค้าหลากหลายรุ่น ที่สำคัญทุกรุ่นมีการออกแบบที่พรีเมียม รองรับการใช้งานในชีวิตประจำวันได้sunnto

[block]2[/block]

เมื่อรู้อย่างนี้แล้ว การลงทุน Smartwatch อย่างแบรนด์ Suunto  เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการออกกำลังกายก็คงเป็นเรื่องที่คุ้มค่าแน่ๆ เพราะมันช่วยให้ผู้ใช้สามารถออกกำลังกายได้ตาม Heart Rate Zone ที่ตรงตามจุดประสงค์ ดังนั้นหากใครยังไม่เคยใช้งาน Smartwatch มาก่อน ก็ลองหารุ่นที่ต้องการแล้วลองซื้อมาใช้ดู แต่แนะนำว่าหากยังไม่แน่ใจในการออกกำลังกายจริงๆ ก็ให้ซื้อรุ่นที่ไม่ต้องมี Feature ล้ำๆ เพียงขอแค่ช่วยคำนวน Heart Rate Zone และวัดอัตราการเต้นของหัวใจได้ก็น่าจะเพียงพอแล้ว

บทความโดย : คุณวี วีรพล

0.00 avg. rating (0% score) - 0 votes

Comments

comments

We will be happy to hear your thoughts

Leave a reply

ช้อปปิ้งออนไลน์ WeMall ห้างสรรพสินค้าออนไลน์ที่แรกในประเทศไทย