เลือกเครื่องทำน้ำอุ่นอย่างไรให้อุ่นกาย และอุ่นใจ

แม้ว่าเราจะอยู่ในแถบประเทศที่นับวันอากาศเย็นๆ ในหน้าหนาวแต่ละปี กินเวลาแทบไม่เคยเกินสัปดาห์  แต่น้ำที่อุ่น(เล็กน้อย) มีประโยชน์ต่อร่างกายในแง่การสร้างความผ่อนคลายที่ดีนะครับ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การอาบน้ำอุ่นก่อนนอน แต่ด้วยหลักการทำน้ำอุ่นที่มีทางเลือกหลายหลาก ในปัจจุบัน เราจะเลือกอย่างไรให้เหมาะสมกับการใช้งาน

สำหรับบทความนี้ เราจะเน้นการเลือกวิธีการทำน้ำอุ่นจากเครื่องทำน้ำอุ่นเป็นหลัก เนื่องจากสะดวกต่อการติดตั้งทั้งในบ้านที่สร้างเสร็จแล้ว หรือบ้านที่กำลังก่อสร้าง รวมไปถึงการติดตั้งในคอนโดมิเนียมที่มีพื้นที่จำกัด

© TRITON, 2017

© TRITON, 2017

 

1. การทำความร้อน (เลขวัตต์)

เลขวัตต์เป็นค่าตัวแปรในการเปลี่ยนพลังงานไฟฟ้าเป็นน้ำอุ่นๆ ยิ่งตัวเลขสูงมาก น้ำที่ได้ก็จะร้อนเร็วขึ้น ทำน้ำร้อนได้ในอัตราการไหลของน้ำที่เร็วมากขึ้น แต่ก็จะเปลืองไฟมากขึ้นเช่นกัน และยิ่งจะเปลืองไฟมากขึ้นไปอีก ถ้าใช้อาบแค่จุดเดียวแต่ใช้วัตต์สูงพิเศษจนเกินจำเป็น

เครื่องทำน้ำอุ่นที่จำหน่ายกัน มีอัตราวัตต์เริ่มต้นที่ 3500 วัตต์ จนไปถึง 6000 วัตต์ขึ้นไป ปัจจัยที่เข้ามามีส่วนในการเลือกกำลังวัตต์ไฟที่ว่า ขึ้นกับตัวแปรดังต่อไปนี้

เลือกวัตต์ตามภาคที่อาศัยอยู่ – จริงอยู่ที่เมืองไทยอากาศไม่ค่อยหนาวเย็น แต่ในบางภูมิภาคอาจหนาวเป็นพิเศษ
เช่น ในกรุงเทพฯ ไม่หนาวเท่าจังหวัดเชียงรายอย่างแน่นอน เป็นต้น
เลือกวัตต์ตามรูปแบบการใช้งาน – หลายคนอาจไม่ได้คาดคิดไว้ แต่ควรพึงพิจารณา ถ้าเป็นคนที่ชอบอาบน้ำกับ Rain Shower (ฝักบัวจ่ายน้ำเหนือหัวเลียนแบบฝนตก) นั้นควรใช้เครื่องที่กำลังวัตต์สูงกว่าอาบน้ำฝักบัวทั่วๆ ไป
ใช้กี่จุด ? – ถ้าท่านมีแผนต่อกับก็อกน้ำล้างหน้า, ก็อกน้ำห้องครัว แม้แต่กับเครื่องซักผ้าฝาบนบางรุ่น อันนี้ท่านต้องดูเครื่องทำน้ำร้อนแทน ซึ่งคล้ายกันกันเครื่องทำน้ำอุ่น แต่ออกแบบมาเพื่อจ่ายน้ำอุ่นมากกว่า 1 จุดพร้อมกันโดยคงความอุ่น/ร้อนของน้ำได้ดีกว่า

ตัวอย่าง

สำหรับการใช้งานจุดเดียว ไม่ค่อยใช้น้ำอุ่นบ่อยนัก และคุณไม่ได้อาศัยในเขตภาพเหนือ-อีสาน
เครื่องทำน้ำอุ่น 3500 วัตต์ ก็นับว่าเพียงพอแล้ว

สำหรับการใช้งานจุดเดียว พร้อมกับ Rain Shower ไม่ค่อยใช้น้ำอุ่นบ่อยนัก และคุณไม่ได้อาศัยในเขตภาพเหนือ-อีสาน
เครื่องทำน้ำอุ่น 4500 วัตต์ เป็นอะไรที่น่าจะเพียงพอ

2. ความปลอดภัย

เครื่องทำน้ำอุ่นที่จำหน่ายในไทยมักติดตั้งให้มีระบบตัดไฟเป็นอุปกรณ์พื้นฐานอยู่แล้ว โดยเราจะพบระบบตัดไฟได้ 2 แบบใหญ่ๆ

  • ELCB ( Earth Leakage Circuit Breaker)
    เป็นเครื่องตัดไฟรั่วแบบกลไกอิเล็กทรอนิกส์ผสมอนาล็อก ประหนึ่งเป็นคัตเอ้าท์สวิทช์น้อยๆ มีก้านยื่นหรือปุ่มเห็นได้ชัด เมื่อมันพบว่ามีกระแสไฟฟ้ารั่ว เจ้า ELCB จะทำการสับสวิทช์ตัดไฟออกจากเครื่องทั้งหมด ทำให้เครื่องทำน้ำอุ่นไม่มีไฟฟ้าจนกว่าจะดันสวิทช์ตัดไฟกลับเข้าที่
  • ELSD ( Earth Leakage Safety Device )
    เป็นระบบตัดไฟรั่วแบบกลไกอิเล็กทรอนิกส์ล้วน เมื่อมีกระแสไฟฟ้ารั่ว ELSD จะตัดการจ่ายไฟให้กับตัวระบบการทำความร้อนและส่วนที่สัมผัสท่อน้ำของเครื่องทำน้ำอุ่น ข้อดีคือสามารถตรวจจับกระเเสไฟที่รั่วได้แม่นยำกว่า แล้วด้วยการผสานเข้ากับแผงวงจรหลักได้ ผู้ผลิตสามารถออกเเบบตัวเครื่องทำน้ำอุ่น,น้ำร้อน ให้มีดีไซน์ขนาดเล็กลงได้ หรือ ดีไซน์รูปแบบตัวเครื่องที่ต้องการได้

ถ้าถามผมว่าอะไรดีกว่ากัน จากมุมมองส่วนตัว ผมมองว่า มีหนึ่งในนี้ ดีกว่าไม่มีเลยครับผม ฮาาา … คือไม่ได้แตกต่างกันเท่าไรนัก แต่การติดตั้ง การเดินสายไฟภายนอก และคุณภาพของแบรนด์สินค้านี่แหละสำคัญ

3. แบรนด์

ส่วนหนึ่งของความปลอดภัยที่สำคัญมาก ก็คือแบรนด์สินค้า เนื่องจากที่ผมลองค้นดูโพสต์เรื่องเครื่องทำน้ำอุ่นจากจากเสียงผู้คนหลากหลายในเว็บไซต์พันทิป ได้ทราบมาว่า “แบรนด์” มีผลสูงในแง่ของการใช้งาน บางยี่ห้ออาจดีแค่รูป แต่งานคุมคุณภาพการผลิตไม่ดี ด้านในออกแบบไม่สมราคา หรือต่ำกว่ามาตรฐานที่ควรจะเป็น บางรุ่นมีปัญหาเสี่ยงน้ำรั่วไฟรั่วก็เคยมี

ผมไม่สามารถฟันธงได้ว่ารุ่นใดดี ยี่ห้อไหนเจ๋ง แต่ที่แน่ๆ แนะนำให้ท่านเลือกยี่ห้อที่เป็นที่รู้จักกันโดยทั่วไป หรือยี่ห้อที่อยู่ในวงการมานานและมีชื่อเสียงในแง่บวก เพื่อความสบายใจและการพึ่งพาบริการหลังการขายที่ดี

การเลือกยี่ห้อแปลกๆ อาจไม่คุ้มเสียเงินจ่ายไปก็เป็นได้

และแน่นอนว่า Wemall เราเลือกแบรนด์เครื่องใช้ไฟฟ้าที่ไว้วางใจได้ มาให้ท่านเลือกซื้ออย่างสะดวก โดยไม่ต้องไปวัดดวง ว่าจะได้ของด้อยมูลค่า โดยเฉพาะเครื่องทำน้ำอุ่นนั้น เราเลือกแต่ยี่ห้อที่มีประสบการณ์ในตลาดและเป็นที่น่าเชื่อถืออย่างแน่นอน

4. ปัจจัยนอก

เนื่องจากเครื่องทำน้ำอุ่นมีองค์ประกอบภายนอกที่เกี่ยวข้องมากกว่าเครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้านทั่วไป ตั้งแต่การติดตั้งไปจนถึงการใช้งานในทุกวัน บางอย่างอาจส่งผลกระทบในระยะยาว และไม่อยู่ในขอบข่ายการรับผิดชอบของผู้ผลิตอีกต่างหาก ฉะนั้น มีประเด็นที่แทรกมาดังนี้

  • เลือกหาผู้ติดตั้งที่น่าเชื่อถือ (กรณีซื้อเพียงตัวเครื่องมาติดตั้งที่หลัง) หรือใช้บริการติดตั้งของแบรนด์นั้น (ถ้ามี) ไม่แนะนำให้ติดตั้งด้วยตนเองโดดเด็ดขาด การติดตั้งที่ขาดความชำนาญ อาจสร้างความเสียหายให้ตัวเครื่องได้
  • อย่างกกับสิ่งเล็กๆ น้อยๆ อย่างเช่น สายไฟควรเลือกความหนาที่สัมพันธ์กันกับกำลังไฟเครื่องฯ ถ้าสายไฟละลายนี่แย่แน่นอน และควรติดตั้งเบรกเกอร์กันไฟดูด/ไฟรั่ว โดยเฉพาะไว้ด้วย
  • ควรติดตั้งสายดินอย่างถูกวิธีตามคำแนะนำของ การไฟฟ้านครหลวง
  • ห้องน้ำที่ติดตั้ง ควรเป็นห้องที่ถ่ายเทอากาศ ไม่ใช่ห้องปิดตาย เพราะเสี่ยงที่จะทำให้ความชื้นภายในตัวเครื่องสูงเกินกว่าที่ควรจะเป็น
  • ติดตั้งเครื่องไว้เหนือหัว หรือไม่ก็อยู่นอกแนวฝักบัวทุกรูปแบบ คือเครื่องทำน้ำอุ่นไม่ต้องการอาบน้ำไปกับเราด้วยหรอกนะ ยิ่งให้มันเปียก ก็เสี่ยงที่จะทำให้เครื่องรวนและเสียหายได้ในระยะยาว

5. ฟีเจอร์

ขึ้นอยู่กับแต่ละบุคคลนะครับ เพราะตัวเลือกหลักของเครื่องทำน้ำอุ่นมีเท่าที่กล่าวไปก่อนหน้า
ส่วนฟีเจอร์อื่นนั้นขึ้นอยู่กับรูปแบบการใช้ เช่น บางท่านเป็นกลุ่มชอบสินค้าไฮเทค อาจเลือกรุ่นที่แสดงอุณหภูมิแบบตัวเลขดิจิตอล บางรุ่นมีการจ่ายน้ำร้อนสลับเย็น ที่ช่วยกระตุ้นการไหลเวียนของเลือดในร่างกาย ช่วยให้ตื่นตัว บางรุ่นมีไฟส่องสว่างฉุกเฉิน ช่วยให้ไม่ต้องเป็นชีเปลือยเดินมึนไปกับความมืดมนของห้องน้ำยามไฟดับ … ซึ่งเหมาะมากกับพื้นที่ที่ไฟดับบ่อย

แต่ถ้าถามผม สำหรับกลุ่มคนส่วนใหญ่ ผมคงเลือกรุ่นที่เรียบง่ายไว้ก่อน ลูกบิดๆ นี่แหละ ชัวร์ เข้าใจง่ายและอยู่ทนอยู่นาน

amore_bshstl_electric_shower_room

© TRITON, 2017

 

ร่ายยาวมาเยอะ แต่แก่นการเลือกเครื่องทำน้ำอุ่นนั้นจริงๆ มีไม่กี่อย่าง ยิ่งในแง่ของสเปคยิ่งไม่ค่อยต่างกัน นอกนั้นจะกลายเป็นเรื่องแบรนด์และดีไซน์เสียมากกว่าที่เยอะเต็มไปหมด ก็หวังว่าท่านที่กำลังสับสนในการเลือกเครื่องทำน้ำอุ่นจะตัดสินใจเลือกเครื่องใหม่ได้ง่ายขึ้นมาบ้าง อีกทั้งมีภูมิคุ้มกันเมื่อเจอเซลล์พยายามดันยอดขายบางยี่ห้อบ้าง และก็ขอให้มีความสุขในการอาบน้ำอุ่น (ที่ไม่ร้อน/หนาวไป) นะคร้าบ 🙂

1  2  3  4
tmn-shopnow tmn-shopnow tmn-shopnow tmn-shopnow

 

0.00 avg. rating (0% score) - 0 votes

Comments

comments

ช้อปปิ้งออนไลน์ WeMall ห้างสรรพสินค้าออนไลน์ที่แรกในประเทศไทย