หลอดไฟ LED กินไฟน้อยลงแต่สว่างมากขึ้น จริงหรือ ?

หลอดไฟ LED เริ่มเข้ามามีบทบาทในหลากหลายอุตสาหกรรม รวมไปถึงการกำเนิดแสงส่องสว่างภายในอาคารและบ้านเรือน ซึ่งข้อดีของหลอดไฟ LED นั้นมีมากมายจนไม่ควรที่มองข้าม ทั้งในแง่ประโยชน์ในการใช้งานและการประหยัดพลังงานที่ถูกพัฒนาขึ้นมาให้แทนที่เทคโนโลยีการให้แสงส่องสว่างแบบเดิมๆที่เราใช้กันอยู่ทั่วไป ถ้าคุณยังใหม่กับคำว่าแอลอีดีและลังเลที่จะทำความรู้จักกับ LED แล้วหละก็… ผมเชื่อว่าบทความนี้จะช่วยอธิบายให้คุณเข้าใจหลอด LED มากขึ้นจนคุณอาจจะอยากเปลี่ยนหลอดไฟในบ้านคุณให้กลายเป็นเทคโนโลยีใหม่อย่าง LED แน่นอนเลยหละ

 

อะไรคือหลอด LED

แอลอีดีคือไดโอดชนิดเปล่งแสง ไม่ได้มีรูปทรงแบบหลอด แต่เรียกนำหน้าชื่อว่า “หลอดแอลอีดี” อย่างที่เคยชินกับหลอดไฟประเภทเก่า เป็นชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์จำพวกสารกึ่งตัวนำรูปแบบไดโอด โดยปกติไอโอดเป็นชิ้นส่วนเพื่อออกแบบและควบคุมทิศทางการไหลของประจุไฟฟ้า แต่ด้วยความอเนกประสงค์ในโครงสร้างของไดโอด จึงทำให้ดัดแปลงใช้งานได้หลากหลายรูปแบบในโลกของวงจรอิเล็กทรอนิกส์ รวมถึงการให้กำเนิดแสงสว่างด้วย จุดเด่นหลักคือการกำเนิดแสงในรูปแบบให้กระแสไฟฟ้าไหลผ่านสารกึ่งตัวนำ ต่างจากหลอดไส้หรือหลอดตะเกียบที่ใช้เทคนิคกำเนิดความร้อนเพื่อกระตุ้นก๊าซในหลอดแก้วหรือใช้การเผาไหม้ใส้ทังสเตนในหลอดเพื่อให้เกิดแสงสว่าง แอลอีดีจึงมีขนาดชิ้นส่วนที่เล็กมากกว่าหลอดไฟปกติมากๆ (เล็กสุดในระดับ 1 มิลลิเมตร) และอายุการใช้งานสูงกว่าเพราะความร้อนต่ำมาก

แอลอีดีถูกประดิษฐ์และนำมาใช้งานจริงใน ค.ศ. 1962 โดยบริษัท GE (General Electric) ช่วงแรกนั้นมักใช้เป็นตัวส่งแสงอินฟราเรดเพื่อการสื่อสารไร้สาย ดั่งที่พบเห็นได้ในรีโมตคอนโทรล หรือไฟแสดงสถานะในเครื่องใช้ไฟฟ้าอย่างเช่นนาฬิกาดิจิตอล เพราะข้อจำกัดในการกำเนิดแสงเฉดสีและของเทคโนโลยีแอลอีดีในสมัยนั้นค่อนข้างจำกัด

 

ใช้กับอะไรได้บ้าง ? และใช้ทดแทนอะไรได้บ้าง ?

ในปัจจุบัน แอลอีดีถูกพัฒนาอย่างมากจนสามารถใช้งานทดแทนไฟแสงสว่างแทบทุกรูปแบบที่เคยใช้กันมา หากท่านคิดว่าแอลอีดียังเป็นเรื่องไกลตัวที่ไม่ค่อยพบเห็นก็ไม่ถูกซะทีเดียวเพราะทุกวันนี้ไม่ว่าจะเป็นป้ายโฆษณา, ไฟจราจร, ไฟส่องสว่างบนถนน, ป้ายไฟ, ไฟตกแต่งอาคาร, ไฟรถยนต์, ไฟจักรยาน, หรือแม้กระทั่งไฟส่องสว่างหน้าจอคอมพิวเตอร์หรือโทรศัพท์ในทุกวันนี้ก็ใช้หลอด LED ครับ… เห็นไหมว่า LED ไม่ใช่เรื่องไกลตัวอย่างที่คิด !!!

ไฟส่องสว่างหน้าจอคอมพิวเตอร์หรือโทรศัพท์ในทุกวันนี้ก็ใช้หลอดไฟ LED ครับ… เห็นไหมว่า LED ไม่ใช่เรื่องไกลตัวอย่างที่คิด !!!

สำหรับการใช้งานทำหน้าที่ให้แสงส่องสว่างทดทนหลอดไฟแบบเดิมในอดีตนั้นอุตสหกรรมแอลอีดีก็ได้ผลิตสินค้าหลากหลายรูปแบบเพื่อใช้งานทดแทนหลอดไฟแบบเดิมแทบจะทุกรูปแบบที่มี ไม่ว่าจะเป็น Socket แบบ E27, หลอดฟลูออเรสเซนต์, หลอดนีออน ก็สามารถหาซื้อหลอด LED รูปแบบนั้นๆมาเสียบใช้ทดแทนภายในบ้านหรือสำนักงานได้ทันที โดยไม่ต้องเปลี่ยนโคมไฟหรือรางไฟแบบเดิมแต่อย่างใด วางแผนมาเพื่อทดแทนหลอดไฟแบบเดิมๆได้ลงตัวขนาดนี้แล้วเรามาดูกันดีกว่าว่าข้อดีของหลอดไฟ LED จะตรงตามความต้องการของคุณจนต้องไปหาหลอด LED มาแทนหลอดไฟแบบเดิมที่ใช้งานอยู่หรือไม่ ???

 

หลอดไฟ LED

หลอดไฟแอลอีดีรูปแบบขั้ว E26/E27 ทรงเลียนแบบหลอดใส้ธรรมดาที่คุ้นเคย แต่ใช้พลาสติกแทนแก้ว ทนทานแม้จะเผลอทำตกพื้นก็ตาม

หลอดแอลอีดีทดแทนหลอดฟลูออเรสเซนต์ขั้วแบบ T8

หลอดแอลอีดีทดแทนหลอดฟลูออเรสเซนต์ขั้วแบบ T8 โดยสามารถติดตั้งแต่ต่อไฟกับสวิทช์โดยตรง หรือใช้กับอุปกรณ์ทดแทนสตาร์ทเตอร์ในกรณีเปลี่ยนหลอดไฟจากรางเก่า

LED Ceiling Set

ไฟแอลอีดีสำหรับโคมไฟติดเพดา (โคมซาลาเปา) สำหรับทดแทนหลอดฟลูออเรสเซนต์แบบกลม ติดตั้งง่ายเพราะผู้ผลิสส่วนใหญ่ใช้แม่เหล็กในการยึดกับโคมไฟเดิม

 

หลอด LED ให้ความสว่างเท่ากันแต่กินไฟน้อยกว่า

หลอด LED (แอลอีดี) หลอด Fluorescent (ฟลูออเรสเซนต์) หลอด Tungsten (ทังสเตน, หลอดไส้)

ภาพเปรียบเทียบอัตราการกินไฟระหว่างหลอดแอลอีดี กับหลอดชนิดต่าง ๆ

มาเริ่มกันที่ประเด็นหลักของหัวข้อบทความนี้ของเรากันดีกว่า… “หลอด LED กินไฟน้อยลงแต่สว่างมากขึ้น จริงหรือ ???” ผมได้ลองทำตารางเปรียบเทียบอัตราการกินไฟของหลอดไฟชนิดต่างๆมาให้เห็นกันชัดๆดังภาพอธิบายด้านบน ที่เปรียบเทียบปริมาณการกินไฟของหลอดแต่ละชนิดที่ให้ความสว่างเท่ากันซึ่งพอจะสรุปได้คร่าวๆว่าแอลอีดีที่จำหน่ายตามท้องตลาด มีค่าวัตต์ความสว่างสูงเทียบเท่าหลอดไฟฟลูออเรสเซนต์(หลอดตะเกียบ) และหลอดทังสเตน (หลอดไส้) ในปริมาณวัตต์ไฟฟ้าที่น้อยกว่าอย่างมีนัยยะสำคัญ ดั่งจะเห็นได้ชัดในแอลอีดี 18 วัตต์ ให้ค่าความสว่างเท่ากับหลอดไส้แบบ 180 วัตต์ กินไฟต่างกันถึง 10 เท่าเลยทีเดียว !!! (ในทางเทคนิค)

องศาของลำแสง (Beam Angle) ที่แคบกว่าหลอดแบบอื่นๆ

แสงส่องสว่างที่ออกจากหลอด LED จะมีลักษณะพุ่งตรงเป็นลำแสงไม่ค่อยมีการกระเจิงของแสง ทำให้แสงที่ได้จากหลอดไฟ LED นั้นจะครอบคลุมพื้นที่ไม่กว้างเท่าหลอดไฟแบบอื่นๆ แต่สำหรับการใช้งานที่ต้องการพื้นที่ความสว่างครอบคลุมในวงกว้างผู้ผลิตได้พัฒนาโดมครอบขึ้นมาเพื่อให้ทิศทางแสงของหลอด LED นั้นกระจายตัวเป็นวงกว้างได้ดียิ่งขึ้นแต่ก็คงต้องยอมรับว่าไม่สามารถครอบคลุมพื้นที่ได้กว้างเท่ากับหลอดแบบฮาโลเจน, ฟลูออเรสเซนต์ หรือทังสเตน แต่ก็กลายเป็นข้อดีที่มีลักษณะเฉพาะตัวของหลอดไฟ LED สำหรับใช้ในงานที่ต้องการควบคุมทิศทางแสงเช่นกัน

 

ข้อดี/ข้อเสีย ของหลอด LED

ข้อดี :

  • ทนทานต่อการใช้งานมากเป็นพิเศษ แอลอีดีที่มีคุณภาพสูง มีอายุการใช้งานได้ยาวนานถึงประมาณ 10-20 ปี
  • อัตราการกินไฟต่ำมากเป็นพิเศษ แต่ได้ค่าความสว่างเท่าหลอดไฟแบบฟลูออเรสเซนต์ และหลอดทังสเตน(หลอดใส้) ซึ่งช่วยประหยัดไฟในระยะยาว
  • มีความร้อนค่อนข้างต่ำมากเป็นพิเศษ จึงไม่ทำให้ห้องและสภาพแวดล้อมนั้นเกิดความร้อนจากแสงไฟ ช่วยลดภาระของแอร์ในการทำความเย็นลงได้ ซึ่งเท่ากับประหยัดไฟไปได้อีกต่อหนึ่ง
  • ไม่ต้องเพิ่งพาบัลลาสต์และสตาร์ทเตอร์ในการติดตั้งใช้งาน แอลอีดีแบบใช้งานในบ้านส่วนมากสามารถต่อกับไฟบ้านได้โดยตรง ไม่มีการกระพริบ ไฟติดทันทีที่เปิด
  • ไดโอดเปล่งแสงมีขนาดเล็กทำให้สามารถนำไปประกอบให้มีรูปร่างที่แตกต่างกันออกไปได้ตามการใช้งาน
  • ไม่มีก๊าซพิษร้ายแรงเพื่อทำปฏิกิริยาทางไฟฟ้า และไม่มีส่วนประกอบของกระจก ปลอดภัยแม้ทำแตก หัก เสียหาย

ข้อเสีย :

  • ราคาต่อชิ้นค่อนข้างสูง เมื่อเทียบกับหลอดไฟแบบฟลูออเรสเซนต์ และหลอดทังสเตน
  • แอลอีดีส่วนใหญ่ ไม่สามารถใช้กับสวิตซ์หรี่แสง (Dimmer Switch) ได้

 

สรุป สว่างมากขึ้นแต่กินไฟน้อยลงจริง ???

ไม่เหนือความเป็นจริงแต่อย่างใดหากจะสรุปว่าหลอดไฟ LED ประหยัดไฟมากกว่าหลอดไฟรูปแบบต่างๆในอดีต เพิ่มเติมคือความทนทานและไม่ทำให้ห้องร้อนขึ้นอีกด้วย แม้เทคโนโลยีนี้จะมาพร้อมกับราคาค่าตัวที่สูงขึ้นก็ตามที แต่เมื่อมองในค่าใช้จ่ายระยะยาวแล้ว นี่เป็นเทคโนโลยีที่น่าลงทุนและสร้างประโยชน์ให้กับทั้งตัวคุณ และต่อสภาพแวดล้อมในอนาคตอย่างแน่นอน

ติดตามการอัพเดทสินค้ามาใหม่ของหมวด >>> อิเล็คทรอกนิกส์ <<<

5.00 avg. rating (85% score) - 1 vote

Comments

comments

ช้อปปิ้งออนไลน์ WeMall ห้างสรรพสินค้าออนไลน์ที่แรกในประเทศไทย